ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การทดสอบสมมติฐาน

การทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing)

      การทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing) เป็นส่วนหน่ึงของสถิติเชิงอนุมาน (Statistical Inference) ซ่ึงเป็นการทดสอบเกี่ยวกับพารามิเตอร์ที่ไม่ทราบค่า โดยสุ่มตัวอย่างจากประชากรแล้ว อาศัยการแจกแจงของตัวสถิติ สร้างสถิติทดสอบเกี่ยวกับพารามิเตอร์น้ันๆ

ศัพท์ที่ควรรู้ในการทดสอบสมมติฐาน 

      ในการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับพารามิเตอร์ที่ไม่ทราบค่าใดๆ จึงควรรู้จัก ความหมายหรือนิยามของ คำศัพท์ต่างๆ ดังติอไปนี้
         1. สมมติฐาน คือ ความเชื่อหรือคำกล่าวอ้างยืนยันเกี่ยวกับลักษณะของประชากร ซ่ึงอาจมีเพียงประชากรเดียวหรือหลายประชากรก็ได้
         2. สมมติฐานที่จะทดสอบ เรียกว่า สมมติฐานหลัก (Null Hypothesis) เขียนแทนด้วย Hสมมติฐานที่แย้งกับสมมติฐานหลัก และนำมาพิจารณาในการทดสอบด้วย เรียกว่า สมมติฐานแย้ง หรือสมมติฐานรอง (Alternative Hypothesis) ซ่ึงแทนด้วย H1
         3. บริเวณยอมรับ (Acceptance region) คือบริเวณที่ทำให้ เกิดการยอมรับ Hส่วน บริเวณปฏิเสธ (Rejection region) หรือบริเวณวิกฤต (Critical region) คือบริเวณที่ทำให้เกิดการ ปฏิเสธ H
         4. ผลการตัดสินใจจากการทดสอบสมมติฐาน เน่ืองจากสมมติฐานที่จะทดสอบ ( H) เป็นความเชื่อ หรือคำยืนยันเกี่ยวกับลักษณะของ ประชากรซื่งยังไม่สามารถบอกได้วาเป็น่จริงหรือเท็จ จนกว่าจะทำการพิสูจน์โดยเก็บรวบรวม ข้อมูลท้ังหมด มาวิเคราะห์ตามลักษณะของประชากรที่ต้องการพิสูจน์น้ัน ซึ่งบางคร้ังการเก็บรวมรวมข้อมูลทั้งหมดจากประชากรเป็นสิ่งที่ทำได้ยากเพราะต้องเสียค่าใช้จ่าย และเวลามาก จึงทำได้เพียงการสำรวจจากตัวอย่าง เพื่อทำการทดสอบเท่าน้ันเอง ดังน้ันผลการตัดสินใจจากการทดสอบ สมมติฐานใดๆ สามารถสรุปได้ ดังตาราง

ตารางผลการตัดสินใจจากการทดสอบสมมติฐาน
ผลการทดสอบไม่ว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐานหลัก ย่อมอาจมีความผิดพลาด เกิดขึ้นได้ 2 กรณีเสมอ คือ
         1) การปฏิเสธ H0 เมื่อ H0 เป็นจริง เรียกว่า ความผิดพลาดประเภทที่ 1
         2) การยอมรับ H0 เม่ือ H0 เป็นเท็จ เรียกว่า ความผิดพลาดประเภทที่ 2
      5. ขนาดของความผิดพลาดประเภทที่1 (Size of a type Ι error) คือ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความผิดพลาดประเภทที่ 1 เขียนแทนด้วย α เราเรียกว่า ระดับนัยสำคัญ (Level of significant ) และขนาดของความผิดพลาดประเภทที่ 2 (Size of a type ΙΙ error) คือ ความน่าจะเป็นที่จะเกิดความผิดพลาดประเภทที่ 2 แทนด้วย β และเรียก 1-β ว่า กำลังของการทดสอบ (Power of the test) ในการทดสอบสมมติฐานผู้ทดสอบต้องพยายามควบคุมความผิดพลาดท้ังสองประเภทให้มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยท่ีสุดแต่ขนาดของความผิดพลาดสองประเภทนี้สวนทางกัน กล่าวคือ ถ้า α มีค่ามากแล้ว β จะมีค่าน้อย การควบคุมความผิดพลาดท้ังสองประเภทนี้สามารถลดลงได้ถ้าเพิ่มขนาดตัวอย่างให้มากขึ้น
ประเภทของการทดสอบสมมติฐาน 
      ในการทดสอบสมมติฐานใดๆ เราจะยอมรับว่าสมมติฐานหลักเป็นจริงก่อน จึงทำการสุ่ม ตัวอย่างและคำนวณค่าสถิติที่ได้จากตัวอย่างที่สุ่ม ถัาค่าสถิติที่ใช้ในการทดสอบน้ันแตกต่างจาก พารามิเตอร์ที่กำหนดใน H0 มากเพียงพอที่จะปฏิเสธ H0 เราจึงจะปฏิเสธ H0 หรือกล่าวว่าแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อพิจารณาความแตกต่างดังกล่าว จะพบว่ามี 2 แบบคือ
         1. แตกต่างอย่างมีทิศทาง คือ ค่าพารามิเตอร์ที่แท้จริงมากกว่าค่าพารามิเตอร์ที่กำหนดใน H0 และอีกกรณีคือ ค่าพารามิเตอร์ที่แท้จริงน้อยกว่าค่าพารามิเตอร์ท่ีกำหนดใน H0 
         2. แตกต่างแบบไม่มีทิศทาง คือ ค่าพารามิเตอร์ที่แท้จริงมีค่าไม่เท่ากับค่าพารามิเตอร์ที่กำหนดใน H0 
         โดยความแตกต่างท้ัง 2 แบบนี้จะเขียนอยู่ในสมมติฐานแย้ง (H1 ) ถ้าทดสอบสมมติฐาน แบบมีทิศทางจะเรียกว่าการทดสอบแบบทางเดียว แต่ถ้าทดสอบสมมติฐาน แบบไม่มีทิศทางจะ เรียกว่า การทดสอบแบบสองทาง
         การทดสอบแบบทางเดียว ( One - Tailed Test )
ให้ θ เป็นพารามิเตอร์ ที่ต้องการทดสอบ และให้ θ เป็นค่าคงที่ที่ต้องการทดสอบหรือเป็นค่าพารามิเตอร์ท่ีคาดหวังไว้ นั้นเอง สมมติฐานที่จะทดสอบอยู่ในลักษณะ
         1. H: θ = θ 
             H1 : θ > θ0


  บริเวณวิกฤตของการทดสอบจะอยู่ด้านขวาและมีค่าเป็นบวก
         2. H: θ = θ
             H1 : θ < θ0









บริเวณวิกฤตของการทดสอบจะอยู่ด้านซ้ายและมีค่าเป็นลบ
การทดสอบแบบทางสองทาง ( Two - Tailed Test )
ให้ θ เป็นพารามิเตอร์ที่ต้องการทดสอบ และให้ θ< θเป็นค่าคงที่ที่ต้องการทดสอบหรือเป็นค่าพารามิเตอร์ที่คาดหวังไว้ สมมติฐานที่จะทดสอบจะอยู่ในลักษณะ
 บริเวณวิกฤตของการทดสอบจะอยู่ด้านซ้ายและขวามีค่าเป็นได้ทั้งบวกและลบ

ขั้นตอนการทดสอบสมมติฐาน 

ขั้นตอนการทดสอบสมมติฐานข้ันตอนการทดสอบสมมติฐานทางสถิติมีดังนี้
 1. ต้ังสมมติฐานหลัก (H) และสมมติฐานทางเลือก (H1 ) ให้มีความหมายตรงข้ามกันเสมอ
         2. กำหนดระดับนัยสำคัญ α
         3. เลือกตัวสถิติทดสอบท่ีเหมาะสม แล้วหาจุดวิกฤตเพื่อกำหนดบริเวณปฏิเสธ Hให้ สอดคล้องกับ Hและ α
         4. คำนวณค่าสถิติที่ใช้ทดสอบจากตัวอย่างขนาด n ที่สุ่มมา
         5. ตัดสินใจยอมรับหรือปฏิเสธ H โดยพิจารณาจากเงื่อนไขนี้ ถ้าค่าสถิติทดสอบที่คำนวณได้จากข้ันตอนที่ 4 ตกอยู่ในบริเวณยอมรับ เราจะตัดสินใจยอมรับ H แต่หากตกอยู่บริเวณปฏิเสธ จะตัดสินใจปฏิเสธ H
         6. สรุปผล


      


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การวิเคราะห์ความแปรปรวน

การวิเคราะห์ความแปรปรวน         ในการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยของประชากร 1 กลุ่ม และ 2 กลุ่ม ตัวสถิติ ทดสอบที่ใช้คือ Z หรือ T โดยการเลือกใชต้วัสถิติทดสอบใดข้ึนอยกู่ บัวา่ ทราบความแปรปรวนของ ขอ้ มูลในประชากรน้ันหรือไม่ ตวัอย่างมีขนาดใหญ่ หรือเล็ก แต่ในกรณีที่ท าการศึกษาประชากร มากกว่า 2 กลุ่ม และต้องการทดสอบสมมติฐานว่า ค่าเฉลี่ยของประชากรแต่ละกลุ่มนั้นแตกต่างกันหรือไม่จะต้องทดสอบสมมติฐานทีละคู่ เช่นในการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยของ ประชากร 3 กลุ่ม จะตอ้งทา การทดสอบสมมติฐานทีละคู่จำ นวน 3 คร้ัง ดังนี้ ซึ่งจะทำให้เสียเวลาในการทดสอบสมมติฐานที่ซ้า ซ้อนเป็นอย่างมาก และประการสำคัญคือเป็นการทำค่าระดับนัยสำคัญมีค่ามากเกินไป ดังนั้น จึงมีการนำเทคนิคการวิเคราะห์ความ แปรปรวน (Analysis of Variance: ANOVA) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ในการทดสอบ สมมติฐานเกี่ยวกับความแตกต่างของค่าเฉลี่ยกรณีประชากรมากกว่า 2 กลุ่ม (k กลุ่ม) โดยทำการทดสอบเพียงครั้งเดียว เช่นกรณีประชากร 3 กลุ่ม สมมติฐานเชิงสถิติเป็นดังนี้       ถ้าผลการทดสอบสมมติฐานปฏิ...

สถิติการวางแผนการทดลอง

สถิติการวางแผนการทดลอง         งานวิจัยส่วนใหญมีการใช้หลักวิชาการสถิติวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อสรุปผลและวิธีวิเคราะห์จะ แตกต่างกันตามแผนการทดลองที่ใช้ ดังนั้น นักวิจัยควรมีความเข้าใจในขั้นตอนการวางแผนการ ทดลอง เพราะการทดลองที่ดีจะมีการกําหนดขั้นตอนในการวางแผนการทดลองไว้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มี คุณภาพสามารถตอบวัตถุประสงค์ได้ครบถ้วน     การทดลอง (Experiment) หมายถึงการจ าลองสภาพ จริงให้อยู่ในลักษณะที่ควบคุมตามเงื่อนไขที่กำหนด และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์      การออกแบบการทดลอง (Design of Experiment) หมายถึง การกกำหนดตัวแปร (X) ที่ควบคุมได้ ที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตอบสนอง (Y) หรือหมายถึงการสุ่มทรีทเมนต์ให้กับหน่วยทดลอง ขั้นตอนการทดลอง • กำหนดปัญหา  • กำหนดวัตถุประสงค์ในการทดลอง และสมมติฐานที่ต้องการ ทดสอบ  • กำหนดตัวแปรต่างๆ ในการทดลอง  • กำหนดขนาดของการทดลอง หรือ จำนวนซ้ำต่อหนึ่งทรีทเมนต์  • เลือกหน่วยทดลอง  • วางแผนการทดลองที่เหมาะสม  • ดำเนินการทดลองตามที่ได้วางแผนไว้  • สรุปผลและแปรควา...